ยินดีต้อนรับ จ๊ะ

blogger นี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้เกร็ดความรู้ เล็กๆน้อยๆ แก่ผู้อ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย นะค่ะ ^^ ขอบพระคุณค่ะ

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Fixed Gear

ประวัติ
       Fixed Gear หรือ Fixie'' เป็นคำแสลงของจักรยานที่มีเกียร์เดียว และล้อหลังไม่สามารถฟรีได้ คือ เท้าต้องปั่นตามไปด้วยทุกครั้งที่รถวิ่งอยู่ และรถประเภทนี้เป็นรถที่ไม่ต้องการใบจานหลายใบ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเปลี่ยนเกียร์ และบางคนก็ไม่ใช้เบรคด้วยซ้ำ สมัยก่อนเป็นภาหนะส่งเอกสารตามตึก และเป็นกีฬาที่ใช้แข่งในเวลโลโดม 
      เดิมทีเจ้ารถ Fixed Gear ในต่างประเทศนั้น มันมีหน้าที่เป็นรถจักรยานใช้ส่งเอกสาร หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Messenger Bike เนื่องจากรถมอเตอร์ไซค์ในต่างประเทศล้วนมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยเหมาะกับการใช้งานออกตระเวนซอกแซก  ไปตามตรอกซอกซอย หรือบนถนนที่มียวดยานการจราจรติดขัด  รถจักรยานจึงสะดวกรวดเร็วกว่าเยอะ และสามารถพกพาขึ้นรถไฟฟ้าได้ง่ายเพราะมันเล็ก    ผอมเพรียวกะทัดรัด น้ำหนักเบา เลยคล่องตัวกว่ามอร์เตอร์ไซค์เป็นไหนๆต่อมามีการพลิกแพลงประยุกต์  ท่าทางแบบ BMX Stunt นักปั่นที่เก่งๆ สามารถเล่นท่า ทั้งยกล้อ ควงมันไปมา ด้วยการ balanceรถที่ต้องคอยจับจังหวะในการขี่ทุกฝีก้าวที่ย้ำน้ำหนักลงบนลูกบันได  ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นการเพิ่มรสชาด เปรี้ยว เผ็ด มันส์  ให้เข้ากับรถที่มีสีสัน สดใสแสบทรวง หรือจะหวานแหววแนวลูกกวาด ผสมกลมกลืนกับท่าทางพลิกแพลงได้อย่างลงตัว เห็นแล้วเป็นที่สะดุดตาสะดุดใจของใครหลายๆ คน รวมถึงตัวผู้เขียนนี้ด้วย จึงเป็นที่มาของ Trend ใหม่ในตอนนี้ที่อยากจะแนะนำยังไงครับ 
      รถจักรยาน Fixed Gear เข้าสู่ประเทศไทยจากนักศึกษาที่ไปเรียนต่อยังต่างประเทศ แล้วได้นำกระแสนี้มาเผยแพร่ เมื่อยามที่เดินทางกลับมาบ้านเกิด          ยังมาพร้อมกับข้อมูลมากมายทั้งแนวการแต่งกาย เทคนิคการขับขี่เล่นท่า ซึ่งเราๆ สามารถหาข้อมูลเหล่านี้เพิ่มอย่างง่ายดายจากโลกอินเตอร์เน็ตที่เพียงคลิ๊กคำว่า fixed gear ลงใน google นอกจากนี้ยังมีกระแสมาจากนักจักรยานประเภทลู่  ที่ มีกลุ่มเล่นอยู่แล้วในประเทศไทยจับเอารถคู่ใจมาปรับแต่งเพื่อขี่เล่นในเมือง    ซึ่งรถ Fixed Gear ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนโฉม ปรับปรุงวัสดุให้มีความแข็งแรงคงทนมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการเล่นท่าผาดโผน หรือไม่ก็จะใช้รถลู่เดิมๆ ที่ปรับเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น มาเป็นรถ Fixed Gear ดูแล้วก็ให้ความรู้สึกคลาสสิกไปอีกแบบแต่ก็ยังสามารถให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้ขี่ได้ไม่แพ้กัน 
รถลู่ ( Track Bike)    vs.   Fixed Gear Bike  รถลู่ ( Track Bike) และ Fixed Gear Bike  ที่จริงแล้วมันก็คือรถชนิดเดียวกันนั่นแหละ  เจ้ารถลู่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการแข่งขันใน Velodrome และถูกออกแบบมาไม่ให้มันมีทั้งเบรกหน้า และหลัง เพราะว่าการแข่งขันประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การชะลอความเร็วในช่วงสปีด หรือช่วงทางโค้ง เป้าหมายเพียงแต่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วแบบสุดๆ เนื่องจากสนามที่เป็นรูปวงรี และจะมีพื้นที่ลา
ดเอียงรับแรงพุ่งปะทะของรถที่ต้องสาดโค้งรอบสนามตลอดระยะเวลาการแข่งขัน  รถลู่ยังมีน้ำหนักเบา จากวัสดุอลูมิเนียม ไททาเนียม หรือ  คาร์บอน ซึ่งสดุแต่ละชนิดมีคุณลักษณะ และให้ประโยชน์ที่ต่างกัน ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป เช่น คาร์บอนให้ความเบาแต่ความคงทนอาจสู้อลูมิเนียม หรือ ไททาเนียมไม่ได้  เมื่อรถ Fixed Gear แล่นบนท้องถนนก็ควรจะมีเบรกเพื่อเสริมความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งรถประเภทนี้จะไม่มีฟรีที่ล้อหลัง ผู้ขี่ต้องจับจังหวะในการปั่นที่ต่อเนื่องให้ดี บวก กับการที่มันไม่มีเบรค  จึงต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ และความแม่นยำในการบังคับรถจักรยานเป็นอย่างดี







Fixed Gear Trick Bike  
ส่วนอีกประเภทที่เร้าใจเร้าร้อนขึ้นมาหน่อย  จากการผาดโผน กระโดดกระเด้งกระดอนไปตามภาษาชาว Fixed Gear ประเภทTrick   เริ่มมีการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสาร  อะดีนาลีน  เช่นเดียวกับสนาม Bmx ประเภท Street & Dirt Jump ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อความคงทนจากความซุกซนของนักขี่แต่ล่ะท่าน  เริ่มจากรูปทรงเฟรมที่กลายพันธ์ออกมาทางแนว Dirt นิดนิด ช่วงระยะของเฟรมจะมีขนาดยาวกว่าสายปั่นแต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่ สีสันจัดจ้านด้วยสติ๊กเกอร์ตามสไตล์ที่ติดกันเข้าไป ตะเกียบหน้าของจักรยานมีขนาดยาวขึ้นและกว้างขึ้นเป็นรูปแบบ Bmx  เพื่อรองรับขนาดของยางที่ใหญ่ และขอบล้อที่กว้างขึ้น

ล้อที่ใช้ในสาย ทริค จะมีขนาด 3 แบบคือ ล้อเสือหมอบทั่วไป ทั้งล้อแม็ก หรือซี่ลวด ที่ขนาดมาตรฐาน 700 C แบบที่สองเล็กลงมานิดนึงเพื่อลดการเสียดสีของล้อระหว่างเล่นท่ากับเฟรมท่อนล่าง คือขาด 650 C ส่วนแบบสุดท้าย เอาล้อ Bmx และล้อ        เมาเท่นไบค์มาดัดแปลงมันซะเลย เพราะตัวถังของรถสายนี้มีความเป็นลูกครึ่งมากมายกับ Dirt Jump และ Bmx  จึงนำอะไหล่ของพ่อพันธ์แม่พันธ์มาใช้กันได้บางส่วน ตอนนี้เริ่มมีการใช้ เป๊กหรือที่เหยียบเท้าของชาว Bmx มาตะกายขอบคอนกรีตต่างๆ มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น